ยินดีต้อนรับสู่แฟ้มสะสมผลงานของนางสาวประวีณา คะ พุยพุย
พุยพุย

วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 3 วันที่29 มกราคม 2559


การบันทึกครั้งที่ 3

วันศุกร์ที่ 29  มกราคม พ.ศ.2559 เวลา13.30-17.30 น.

บรรยากาศการเรียน


วันนี้เป็นการเรียนการสอนครั้งที่สาม นักศึกษากลุ่ม 103 มารอเรียนก่อนเวลา อาจารย์และนักศึกษาพูดคุยกันอย่างเป็นกันเองในวันนี้อาจารย์เริ่มต้นด้วยการเช็คชื่อและแจกกระดาษแผ่นเล็กๆให้นักเรียนเขียนชื่อและอาจารย์ก็เขียนเป็นตารางหน้ากระดานว่ามากับไม่มาให้นักศึกษาเอาชื่อที่เขียนไปติดไว้ที่ช่องมาจากนั้นอาจารย์ก็เริ่มสอนเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับวิชาคณิตศาสตร์ทั้งเรื่องการนับจำนวนการเพิ่มการลดจำนวนและต่างๆที่เกี่ยวกับคณิตศาตร์ต่อมาเป็นการนำเสนองานที่ได้รับมอบหมายตั้งแต่อาทิตย์ที่แล้วว่าให้ไปเตรียมบทความวิจัยหรือวีดีโอการสอนที่ให้ลิ้งมานำเสนอหน้าชั้นเรียนแล้วดิฉันก็ได้นำเสนองานวีดีโอการสอนต่อไปอาจารย์พานักศึกษาร้องเพลงอย่างสนุกสนานยกตัวอย่างชื่อเพลง -เพลงสวัสดียามเช้า,-เพลงสวัสดีคุณครู,-เพลงหนึ่งปีมีสิบสองเดือน,-เพลงเข้าแถว,-เพลงซ้าย-ขวาซึ่งบทเพลงที่อาจารย์นำมาสอนนี้มีเนื้อหาที่เกี่ยวกบคณิตศาตร์ทั้งนั้น







การเรียนการสอนในวันนี้

  1.การใช้กระบวนการทางการคิด
  2.แนวทางการเรียนการสอน
  3.และใช้ความคิดในเชิงคณิตศาสตร์ผมผสานในการเรียน

ทักษะที่ได้รับในการเรียนรู้

1.ทักษะการนับ
2.ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
3.ทักษะความเข้าใจในเนื้อหา
4.ทักษะการสื่อสารการตอบคำถาม
5.ทักษะกิจกรรมที่เน้นใช้ในชีวิตประจำวัน

ความรู้ที่ได้รับ

     ได้รู้จักใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์และประมวลออกมาเป็นคำตอบของตัวเองเพื่อแสดงความคิดเห็นในห้องเรียน ต้องคิดให้ดีเพราะการทำอะไรแต่ละอย่างนั้นไม่ได้มีแค่วิธีเดียวเราต้องเลือกกระบวนการที่ทำให้เราสะดวกและประหยัดเวลามากที่สุดรู้จักวิธีวางแผนการทำงานล่วงหน้าก่อนลงมือเขียนปฏิบัติ ทำให้ได้ฝึกทักษะกระบวนการคิด




การนำไปประยุกต์

    ทักษะกระบวนการเรียนรู้วันนี้สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันหรือในอนาคตได้ คือ เราจะทำอะไรเราควรมีทักษะกระบวนการคิดใตร่ตรองให้ดีก่อนจะลงมือทำ แล้วผลของการกระทำนั้นจะส่งผลดีต่อเราและสิ่งที่เราทำและกิจกรรมที่สอนในวันนี้สามารถนำไปใช้ในการสอนได้จริง

เทคนิคการสอนของอาจารย์

       อาจารย์ใช้วิธีการให้พวกเราได้คิด และลงมือทำก่อนที่จะบอกวิธีที่ถูกต้องและให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการตอบคำถามและมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในห้องเรียนด้วย

ประเมินผู้สอน

    อาจารย์เข้าสอนตรงเวลาและมีความเป็นกันเองกับนักศึกษาทำให้นักศึกษาไม่เครียดและมีความสุขกับการเรียนอาจารย์มีวิธีการสอนที่ทำให้เราเข้าใจง่ายและมีการสอดแทรกเพลงเข้าไปในเนื้อหาคณิตศาตร์ทำให้เข้าใจได้ง่ายและไม่ตึงเครียดจนเกินไปทำให้ได้ผ่อนคลายในการเรียนด้วย














   

วันเสาร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2


วันศุกร์ที่ 15  มกราคม พ.ศ.2559 เวลา13.30-17.30 น.

บรรยากาศการเรียน


วันนี้เป็นการเรียนการสอนครั้งที่สอง นักศึกษากลุ่ม 103 มารอเรียนก่อนเวลา อาจารย์และนักศึกษาพูดคุยกันอย่างเป็นกันเองในวันนี้อาจารย์แจกกระดาษและสอนเสริมแทรกการสอนคณิตศาสตร์ด้วย และสอนวิธีการทำ mind map  ทำให้บรรยากาศในห้องเรียนไม่เครียดมากและมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันและกันและตอบคำถามที่อาจารย์ถามว่าคาบแรกหายไปไหนทำไมไม่มาเรียนดิฉันได้บอกอาจารย์ว่าทั้งอาทิตย์ไม่ได้มาเรียนเลยอาจารย์ก็เลยสอนเรื่องเปลี่ยนวิธีคิดใหม่

การเรียนการสอนในวันนี้

  1.การใช้กระบวนการทางการคิด
  2.แนวทางการเรียนการสอน

ทักษะที่ได้รับในการเรียนรู้

1.ทักษะการลำดับความคิด
2.ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
3.ทักษะการเขียนสรุปองค์ความรู้
4.ทักษะการสื่อสารการตอบคำถาม

ความรู้ที่ได้รับ

     ได้รู้จักใช้กระบวนการคิดในการทำอะไรสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ต้องคิดให้ดีเพราะการทำอะไรแต่ละอย่างนั้นไม่ได้มีแค่วิธีเดียวเราต้องเลือกกระบวนการที่ทำให้เราสะดวกและประหยัดเวลามากที่สุดรู้จักวิธีวางแผนการทำงานล่วงหน้าก่อนลงมือเขียนปฏิบัติ ทำให้ได้ฝึกทักษะกระบวนการคิด

การนำไปประยุกต์

    ทักษะกระบวนการเรียนรู้วันนี้สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันหรือในอนาคตได้ คือ เราจะทำอะไรเราควรมีทักษะกระบวนการคิดใตร่ตรองให้ดีก่อนจะลงมือทำ แล้วผลของการกระทำนั้นจะส่งผลดีต่อเราและสิ่งที่เราทำ

เทคนิคการสอนของอาจารย์

       อาจารย์ใช้วิธีการให้พวกเราได้คิด และลงมือทำก่อนที่จะบอกวิธีที่ถูกต้องและให้นักศึกษษได้มีส่วนร่วมในการตอบคำถาม

ประเมินผู้สอน

    อาจารย์เข้าสอนตรงเวลาและมีความเป็นกันเองกับนักศึกษาทำให้นักศึกษาไม่เครียดและมีความสุขกับการเรียนอาจารย์มีวิธีการสอนที่ทำให้เราเข้าใจง่ายและมีการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมให้กับนักศึกษษด้วย เช่น การเข้าเรียนตรงต่อเวลาและการมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย  
   
















สรุปวิจัยเรื่องโครงงาน/ การสอนแบบโครงการ (Project Approach)





สรุปวิจัย


โครงงาน/ การสอนแบบโครงการ (Project Approach)

ผู้เขียน: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บุบผา เรืองรอง อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชระดับ: ก่อนอนุบาล อนุบาลหมวด: เกี่ยวกับอนุบาล
















































































































การสอนแบบโครงการ หมายถึง การจัดการเรียนการสอนรูปแบบหนึ่งซึ่งให้ความสำคัญกับเด็ก ส่งเสริมให้เด็กแสวงหาคำตอบจากการเรียนเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างลุ่มลึกเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยที่เด็กหรือครูร่วมกันกำหนดเรื่องที่ต้องการเรียนรู้ แล้วดำเนินการแสวงหาความรู้ด้วยกระบวนการแก้ปัญหา โดยครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงและจากแหล่งเรียนรู้

                  การสอนแบบโครงการเป็นการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนแสวงหาคำตอบจากการเรียนเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เด็กสนใจจะเรียนรู้อย่างลุ่มลึกด้วยกระบวนการแก้ปัญหา
กาสอนแบบโครงการเป็นการจัดการเรียนการสอนที่มีลักษณะสำคัญดังนี้
-ความคิดพื้นฐานเชื่อว่า การเรียนรู้ของเด็กมาจากการกระทำ เด็กเป็นผู้ที่ต้องพัฒนา มีความคิด มีความมุ่งหมาย ความต้องการที่จะเรียนรู้ทำอะไรอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นของตนเองต้องพึ่งตนเอง การสอนแบบโครงการมุ่งพัฒนาทางร่างกายและจิตใจของเด็กไปพร้อมกัน
-วิธีจัดการเรียนการสอนมี 4 ระยะ คือ
-ระยะที่ 1 เริ่มต้นโครงการ เด็กจะร่วมกันคิดเรื่องที่สนใจ
-ระยะที่ 2 ระยะวางแผนโครงการ เป็นช่วงเวลาที่กำหนดจุดประสงค์ว่าต้องการเรียนรู้อะไร กำหนดขอบเขตเนื้อหา ระยะเวลาและวิธีการศึกษา
-ระยะที่ 3 ดำเนินโครงการตามที่กำหนดไว้ ที่เน้นระบวนการแก้ปัญหา จัดเป็นหัวใจของการสอนแบบโครงการ เพราะเด็กจะได้รับข้อมูลใหม่จากประสบการณ์ตรงหรือเป็นแหล่งข้อมูลพื้นฐานเพราะเด็กได้สนทนา พูดคุยกับบุคคล และสืบค้นจากแหล่งเรียนรู้ ขณะเดียวกันเด็กสามารถค้นความรู้จากแหล่งข้อมูลรอง (Secondary Sources) เช่น การดูวีดีทัศน์ การอ่านหนังสือ เป็นต้น
-ระยะที่ 4 สรุปโครงการ ครูและเด็กร่วมวางแผนสรุปโครงการ เป็นขั้นตอนการประเมินโครงการ ทบทวนการปฏิบัติ และวางแผนโครงการใหม่ วิธีการสรุปโครงการอาจจะให้เด็กนำผลงานที่ได้รับมอบหมายมาแสดงต่อครูแล้วอภิปรายประเด็นปัญหา หรือให้เด็กนำเสนอผลงาน ในรูปของการจัดแสดง จัดเป็นนิทรรศการ หรือสาธิตผลงาน
-มีกิจกรรมหลักในโครงการ 4 กิจกรรมคือ กิจกรรมสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในชั้นเรียน กิจกรรมทัศนศึกษา กิจกรรมสืบค้น และกิจกรรมนำเสนอผลงาน
-กิจกรรมสืบค้นมีหลากหลายได้แก่ การรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการสังเกต การสัมภาษณ์ การปฏิบัติทดลอง การรวบรวมเอกสาร การรายงาน การจัดแสดงผลงานที่ได้จากโครงการ เป็นต้น
-เรื่องที่จะเรียนมาจากความสนใจของเด็กที่ต้องการเรียนอย่างลุ่มลึก เด็กจึงเป็นผู้วางแผนและร่วมคิด ร่วมมือสืบค้นกับผู้อื่น ครูเป็นผู้สนับสนุน สังเกตและอำนวยความสะดวก หากเรื่องนั้นมีความเป็นไปได้ มีแหล่งข้อมูลเพียงพอ พ่อแม่และชุมชนมีความพร้อมที่จะร่วมมือ
-ทักษะการเรียนรู้หนังสือจำนวน ให้บูรณาการในหัวเรื่องโครงการ รวมทั้งวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษา ดังนั้น หัวเรื่องหนึ่งที่เด็กสนใจเรียนรู้นั้นต้องมีเวลาอย่างน้อย 1 สัปดาห์และควรสำรวจที่โรงเรียนเหมาะกว่าที่บ้าน

การจัดการสอนแบบโครงการเป็นที่สนใจของนักการศึกษาจึงได้นำไปใช้และวิจัยสรุปถึงประโยชน์ที่มีต่อเด็กดังนี้
  • เด็กจะเห็นคุณค่าของตนเอง เป็นแนวทางให้เด็กพึ่งพาตนเองได้
  • ส่งเสริมให้เด็กมีโอกาสที่จะประยุกต์ใช้ทักษะที่มีอยู่
  • เด็กเกิดแรงจูงใจภายในและความสามารถที่เกิดจากตัวเด็กเองในงานและกิจกรรมที่ทำ
  • เด็กรู้จักตัดสินใจว่าควรทำอะไร และผู้ใหญ่ยอมรับในความต้องการของเด็ก
  • เด็กสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง อย่างมีความสุข สนุกสนานเพราะเด็กได้เรียนในสิ่งที่ตนเองสนใจ รู้จักประยุกต์ใช้ความรู้
  • ส่งเสริมให้เด็กมีวิธีการทำงานอย่างมีแบบแผน
  • สามารถนำรูปแบบการสืบค้นความรู้ไปใช้ได้ในชีวิตจริง
  • สร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและครอบครัว เนื่องจากการสอนแบบโครงการ พ่อแม่ ผู้ปกครองจะต้องร่วมมือกับครูสนับสนุนการเรียนรู้ของเด็กทุกรูปแบบ

           การจัดการสอนแบบโครงการนำมาประยุกต์ใช้ในครอบครัวได้เป็นอย่างดี โดยให้ลูกได้เรียนรู้เรื่องที่เขาสนใจทั้งในแนวกว้างและแนวลุ่มลึกที่เขาสามารถเรียนได้ สนับสนุนลูกให้สืบหาคำตอบด้วยตนเองโดยพ่อแม่หรือพี่ น้องวัยใกล้เคียงกันเป็นเพื่อนร่วมเรียน ด้วยวิธีการอ่านหนังสือ การวาดภาพ การสร้างเรื่อง การสังเกต การเขียน และรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญซึ่งอาจจะเป็นญาติผู้ใหญ่ เช่น ย่า ยาย เพื่อนบ้าน นำลูกไปเรียนรู้ที่แหล่งเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง และให้ลูกประมวลความรู้ที่ค้นพบ สิ่งสำคัญ พ่อแม่จะต้องเข้าใจว่าการสอนแบบโครงการจะต้องอาศัยเวลา บางครั้งลูกอาจจะประมวลสรุปความรู้ไม่ได้ ต้องค้นหาสาเหตุ บางครั้งอาจจะเกิดจากเรื่องที่สนใจนั้นใช้เวลาศึกษายาวนาน หรือการรับรู้เรื่องราวขาดการเชื่อมโยงประสบการณ์เดิม เมื่อลูกได้รับการส่งเสริมให้สืบค้นความรู้ด้วยกระบวนการแก้ปัญหา พ่อแม่จะสังเกตพบว่า ลูกได้ใช้ภาษา ได้พัฒนาทักษะสังคม ได้พัฒนาความคิดผ่านการใช้คำถาม การแก้ปัญหา และได้ทักษะการสังเกต
           จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญระดับปฐมวัย หมายถึง การที่ครูส่งเสริมและสนับสนุนเด็กปฐมวัยได้พัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามวัยซึ่งสมดุลทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา โดยผ่านกิจกรรมลักษณะต่างๆ ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ให้เด็กได้ปฏิบัติและค้นคิดข้อความรู้ด้วยตนเอง ได้มีโอกาสเรียนรู้ร่วมกับครู เพื่อน และคนอื่นๆ ในสภาพแวดล้อม สื่อ สาระการเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัยที่ครูได้วางแผนไว้บนพื้นฐานของความรู้ ความเข้าใจธรรมชาติของเด็กปฐมวัย
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญระดับปฐมวัย มีความสำคัญดังนี้
  • ส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ตามความสนใจ ความถนัดของตนเอง
  • ส่งเสริมให้เด็กได้ปฏิบัติ คิดค้นหาคำตอบและสร้างข้อความรู้
  • ส่งเสริมให้เด็กมีสังคมและสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น จากการเรียนและร่วมมือกับเพื่อน กับครู และผู้อื่น
  • ส่งเสริมให้เด็กรักและภาคภูมิใจในตนเอง สามารถสร้างความดีงามในชีวิตได้ต่อไป หรือรู้คุณค่าของชีวิต
  • ส่งเสริมให้เด็กมีคุณธรรม จริยธรรม วัฒนธรรม
  • ส่งเสริมให้เด็กมีทักษะพื้นฐานที่จะเรียนในระดับประถมต่อไป













สรุปบทความคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยอรอนงค์ ยกสกูล


สรุปบทความคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยอรอนงค์ ยกสกูล







คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

            การเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเป็นสิ่งสำคัญมากเนื่องจากเด็กวัยนี้เป็นวัยที่มีการเรียนรู้และสนใจสิ่งต่างๆ รอบตัวอยู่ตลอดเวลา นอกจากนั้นตัวเลขก็มักมีอยู่รอบตัวอีกด้วย เช่น ตัวเลขบนเงินตรา ตัวเลขบนนาฬิกา ฯลฯ เด็กจึงควรได้รับการเรียนการสอนที่ถูกต้องและเหมาะสมกับวัยคณิตศาสตร์นับว่ามีความสำคัญและมีความจำเป็นมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเด็กปฐมวัย

แนวคิดและทฤษฎี

แนวคิดและทฤษฎีการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
                Piaget, Bruner และVygotsky(http://info.arc.dusit.ac.th/iknowledge/EducationShelf.nsp.2548)  บุคคลทั้งสามท่านนี้เป็นผู้ที่มีชื่อเสียงในด้านทฤษฎีพัฒนาการทางด้านสติปัญญา แนวคิดของทั้งสามท่านมีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษาเป็นแนวทางพื้นฐานสำคัญของการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัยศึกษาจึงควรมีดังนี้

                                1. เพื่อให้เด็กมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น รู้จักคำศัพท์ และสัญลักษณ์ ทางคณิตศาสตร์ขั้นต้น ฯลฯ
                                2. เพื่อพัฒนามโนภาพเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การบวก หรือการเพิ่ม การลดหรือการลบ ฯลฯ
                                3. เพื่อให้เด็กรู้จักและใช้กระบวนการในการหาคำตอบ เช่น การจดบันทึก การชั่งน้ำหนัก ฯลฯ
                                4. เพื่อให้เด็กฝึกฝนทักษะคณิตศาสตร์พื้นฐาน เช่น การนับ การวัด การจับคู่ การจัดประเภท การเปรียบเทียบ การลำดับ ฯลฯ
                                5. เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีความรู้ ความเข้าใจ ความอยากรู้ และอยากค้นคว้าเพิ่มเติม
                                6. เพื่อส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง

องค์ประกอบ
องค์ประกอบของการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
                ในการสอนคณิตศาสตร์ให้เกิดผลดี ครูจะต้องนำหลักสูตรที่กำหนดไว้มาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
1. การตั้งจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม (Behavioral objectives) เพื่อให้นักเรียนมีพฤติกรรมในการเรียนรู้ตรงตามจุดประสงค์ หรือจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
  2. การตั้งจุดมุ่งหมายในด้านมโนธรรม เป็นเรื่องของความละเอียดอ่อนในด้านจิตใจเจตคติ คุณค่าทางอารมณ์ ซึ่งบางครั้งจะไม่เห็นพฤติกรรมที่เด่นชัด และมีการแสดงออกที่แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล

การจัดการเรียนการสอน

การจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
                การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัยให้ได้ผลดีนั้น ควรวางเป้าหมายของการเรียนคณิตศาสตร์ให้ชัดเจน และเป็นสิ่งที่กำหนดทิศทางในการจัดประสบการณ์ให้ตรงกับสิ่งที่ครูกำหนดไว้ให้เกิดขึ้นกับตัวเด็ก